บทนำ 2 พงศาวดาร 

ส่วนที่ 1 บทนำทั่วไป

โครงเรื่องของพระธรรม 2 พงศาวดาร 
  1. ซาโลมอนทรงปกครองราชอาณาจักร (1:1–9:28)
    • ซาโลมอนทรงครองบัลลังก์ของดาวิด พระราชบิดาของพระองค์  (1:1-17)
    • ซาโลมอนทรงสร้างพระวิหารของพระยาห์เวห์  (2:1–5:1)
    • ซาโลมอนทรงถวายพระวิหาร  (5:2–7:22)
    • ชีวิตของซาโลมอน (8:1–9:28)
  2. ยูดาห์เสื่อมสลายและการตกไปเป็นเชลย (10:1–36:23)
    • จากเรโหโบอัมถึงเศเดคียาห์ (10:1–36:21)
    • พระบรมราชโองการของไรซรัส ที่ทรงอนุญาตให้อิสราเอลกลับสู่คานาอัน  (36:22–23)
พระธรรม 1 พงศาวดาร และ 2 พงศาวดารเกี่ยวกับอะไร?

พระธรรม 1 พงศาวดารกล่าวรายชื่อพงศ์พันธุ์จากอาดัมถึงซาอูลซ้ำอีกครั้ง แล้วก็มีการกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของอิสราเอลระหว่างรัชสมัยของดาวิด พระธรรม 2 พงศาวดารกล่าวถึงประวัติศาสตร์ของอิสราเอลเริ่มตั้งแต่ซาโลมอน แล้วจบลงเมื่อกองทัพของคนบาบิโลนโจมตียูดาห์และต้อนคนจำนวนหนึ่งไปบาบิโลน ผู้เขียนพระธรรมพงศาวดารอาจจะเขียนพระธรรมเหล่านี้สำหรับคนยิวผู้ที่กลับมาจากการตกไปเป็นเชลยที่บาบิโลน จุดประสงค์ก็เพื่อสอนคนให้หลีกเลี่ยงการไม่เชื่อฟังพระเจ้าเหมือนดังที่บรรพบุรุษของพวกเขาทำ

ชื่อของพระธรรมนี้ควรแปลว่าอย่างไร?

ผู้แปลทั้งหลายสามารถใช้ชื่อของพระธรรมนี้ตามชื่อดั้งเดิม คือ "2 พงศาวดาร" หรือ "พงศาวดารฉบับที่สอง" ท่านอาจจะเรียกพระธรรมนี้ว่า "เหตุการณ์ต่างๆ ของกษัตริย์แห่งยูดาห์และอิสราเอล ฉบับที่ 2" หรือ "พระธรรมฉบับที่สองของเหตุการณ์ต่างๆ ของบรรดากษัตริย์แห่งยูดาห์และอิสราเอล"

ใครคือผู้เขียนพระธรรม 1 พงศาวดาร และ 2 พงศาวดาร?

พวกผู้เขียนพระธรร 1 พงศาวดารและ 2 พงศาวดารไม่เป็นที่รู้จัก พวกเขากล่าวถึงว่าพวกเขาใช้พระธรรมอื่นๆ เมื่อเขียนพระธรรมพงศาวดาร ชื่อของพระธรรมอื่นๆ เหล่านั้นได้แก่ "พงศาวดารของซามูเอลผู้ทำนาย" "พงศาวดารของนาธานผู้ทำนาย" "พงศาวดารของกาดผู้ทำนาย" "ประวัติของนาธันผู้เผยพระวจนะ" "พงศาวดารของเชไมอาห์ผู้เผยพระวจนะและอิดโด" "เรื่องของผู้เผยพระวจนะอิดโด" และ "หนังสือของบรรดากษัตริย์ของยูดาห์และอิสราเอล"

ทำไมจึงมีพระธรรมหลายเล่มที่มีประวัติศาสตร์ของบรรดากษัตริย์ของอิสราเอล?

พระธรรมพงศาวดารและพระธรรมพงศ์กษัตริย์กล่าวมากมายถึงประวัติศาสตร์เดียวกัน แต่ก็ไม่เหมือนกันทีเดียว ผู้เขียนทั้งหลายของพระธรรมพงศาวดารเขียนส่วนใหญ่เกี่ยวกับบรรดากษัตริย์แห่งยูดาห์ผู้ที่สัตย์ซื่อต่อพระยาห์เวห์และพันธสัญญาของพระองค์ ผู้เขียนต้องการให้คนยิวคิดอย่างรอบคอบเกี่ยวกับดาวิดและซาโลมอน พวกเขาต้องการให้พวกยิวคิดเกี่ยวกับเยโฮชาฟัท เฮเซคียาห์ และโยสิยาห์เป็นเหตุให้พวกบรรพบุรุษของพวกเขาเสียใจในความผิดบาปและกลับมานมัสการพระยาห์เวห์ด้วย ผู้เขียนต้องการหนุนใจคนยิวและพวกผู้นำของพวกเขาให้เชื่อฟังพระบัญญัติและถวายเกียรติแด่พันธสัญญาของพระเจ้าในท่ามกลางพวกเขา (ดูที่: /WA-Catalog/en_tw?section=kt#covenant)

ส่วนที่ 2 ศาสนาและแนวคิดด้านวัฒนธรรมที่สำคัญ

ทำไมพระเจ้าจึงทรงลงโทษคนอิสราเอล?

พระเจ้าทรงลงโทษคนอิสราเอลเพราะว่าพวกเขาไม่เชื่อฟังพระองค์และนมัสการพวกพระเทียมเท็จ พระเจ้าทรงลงโทษพวกเขาด้วยโรคร้ายแรง ภัยพิบัติต่างๆ และพ่ายแพ้ในสงคราม อย่างไรก็ตาม พระเจ้าทรงยกโทษพวกเขาและทรงทำให้พวกเขารุ่งเรืองขึ้นอีกครั้งถ้าพวกเขาเสียใจในความผิดบาปและเชื่อฟังพระองค์ ผู้เขียนพระธรรม 1 พงศาวดารและ 2 พงศาวดารเตือนความจำผู้อ่านทั้งหลายอย่างต่อเนื่องว่าพระเจ้าทรงลงโทษประชากรของพระองค์เพราะว่าพวกเขาไม่เชื่อฟัง  พวกเขาต้องการให้ผู้อ่านทั้งหลายเข้าใจว่าพวกเขาต้องเชื่อฟังพระเจ้า

ทำไมการเป็นพันธมิตรกับพวกคนต่างชาติจึงถูกมองว่าเป็นความชั่วร้ายในพระธรรมเหล่านี้?

พระยาห์เวห์ทรงนำและทรงปกป้องชนชาติอิสราเอล คนอิสราเอลควรไว้วางใจพระองค์มากกว่าการพึ่งพาชนชาติอื่นๆ ให้ปกป้องพวกเขา

ส่วนที่ 3 ประเด็นสำคัญสำหรับการแปล

อะไรคือความหมายของคำว่า "อิสราเอล"?

ชื่อ "อิสราเอล" ถูกใช้ในหลายแบบในพระคัมภีร์  ยาโคบเป็นบุตรชายของอิสอัค พระเจ้าทรงเปลี่ยนชื่อของยาโคบเป็นอิสราเอล พงศ์พันธุ์ของยาโคบกลายเป็นชนชาติที่เรียกว่าอิสราเอล ในที่สุดชนชาติอิสราเอลแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร อาณาจักรทางเหนือเรียกว่าอิสราเอล อาณาจักรทางใต้เรียกว่ายูดาห์

อะไรคือความหมายของ "การแสวงหาพระเจ้า"?

พวกผู้เขียนพระธรรมพงศาวดารฉบับที่หนึ่งและสองบ่อยครั้งเขียนเกี่ยวกับ "การแสวงหาพระเจ้า" การแสวงหาพระเจ้าหมายความว่าการพยายามทุ่มเทที่จะให้พระเจ้าทรงพอพระทัยและถวายเกียรติแด่พระองค์ และยังสามารถหมายความว่าการแสวงหาการช่วยเหลือจากพระเจ้า นี่ไม่ได้เป็นการบ่งบอกว่าพระเจ้าทรงซ่อนพระองค์ (ดูที่: /WA-Catalog/en_tm?section=translate#figs-metaphor)

อะไรคือความหมายของวลี "จนถึงทุกวันนี้"?

บรรดาผู้เขียนใช้วลี "จนถึงวันนี้" อ้างถึงเวลาที่พวกเขากำลังเขียน ผู้แปลควรตระหนักว่า "จนถึงทุกวันนี้" อ้างถึงเวลาที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ผู้แปลอาจจะตัดสินใจว่า "จนถึงทุกวันนี้ ณ เวลาที่สิ่งนี้กำลังถูกเขียนแล้ว" หรือ "จนถึงเวลานี้ ณ เวลาที่เขียน" วลีนี้ในภาษาฮีบรูปรากฏใน 1 พงศาวดาร 4:41ข้อ 43 บทที่ 5:26 บทที่ 13:11 บทที่ 20:26 บทที่ 21:10 บทที่ 35:25